School of Medical Sciences School of Medical Sciences
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
    • แนะนำคณะ
      • ประวัติความเป็นมา
      • โครงสร้างองค์กร
      • ผู้บริหาร
      • บุคลากร
      • หน่วยงานภายใน
      • อำนาจหน้าที่
    • การบริหาร
      • แผนยุทธศาสตร์
      • รายงานการดำเนินงาน
        • รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
      • แผน / นโยบาย / มาตรการ
      • ประกาศแผนจัดซื้อจัดจ้าง
      • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
      • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
      • วัฒนธรรมองค์กร
      • การดำเนินการด้านคุณธรรมและจริยธรรม
      • ประมวลจริยธรรม
      • ข่าวทั้งหมด
      • รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง
    • ด้านวิชาการ
      • ประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ
      • ประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร
      • ข้อมูลจำนวนนิสิต
    • ด้านการวิจัย
      • R2R สายสนับสนุน
      • มาตรฐานการวิจัย
      • ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง
      • ข้อมูลงานวิจัย
      • บทความวิชาการ
    • แนะนำคณะฯ
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • หลักสูตรจุลชีววิทยา
    • หลักสูตรชีวเคมี
    • หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร
    • สนับสนุนทุนการศึกษา
    • สหกิจศึกษา
  • บริการ
    • E-Service
      • E-Service บุคลากร
      • E-Service สำหรับนิสิต
    • ระบบจองห้องประชุม
    • ระบบจองห้อง Co-Learning
    • คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
      • สำหรับนิสิต
      • สำหรับบุคลากร
      • คู่มือปฏิบัติงานบุคลากร
    • ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง
    • ตารางการใช้งานรถตู้
    • สถิติการให้บริการ
    • แบบฟอร์มเอกสาร
  • ติดต่อเรา
    • ติดต่อเรา
    • สายตรงคณบดี
    • ร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบ
      • สถิติการร้องเรียนทุจริต
    • แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

Contact Us

  • School of Medical Sciences, University of Phayao
  • 19 Moo 2 Tambon Maeka, Amphur Muang Phayao, Thailand 56000
  • +66(0)54 466 666 ext. 3811-2
  • medsci@up.ac.th
School of Medical Sciences School of Medical Sciences
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา

    แนะนำคณะ

    • ประวัติความเป็นมา
    • โครงสร้างองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • บุคลากร
    • หน่วยงานภายใน
    • อำนาจหน้าที่

    ด้านบริหารงาน

    • แผนยุทธศาสตร์
    • รายงานการดำเนินงาน
    • รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
    • แผน / นโยบาย / มาตรการ
    • ประกาศแผนจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

    ด้านวิชาการ

    • ประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ
    • ประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร
    • ข้อมูลจำนวนนิสิต

    ด้านงานวิจัย

    • R2R สายสนับสนุน
    • มาตรฐานการวิจัย
    • ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง
    • ข้อมูลงานวิจัย
    • บทความวิชาการ

    ด้านอื่นๆ

    • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
    • วัฒนธรรมองค์กร
    • การดำเนินการด้านคุณธรรมและจริยธรรม
    • ประมวลจริยธรรม
    • ข่าวทั้งหมด
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
    • หลักสูตรจุลชีววิทยา
    • หลักสูตรชีวเคมี
    • หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร
    • สนับสนุนทุนการศึกษา
    • สหกิจศึกษา
  • บริการ
    • E-Service
      • E-Service บุคลากร
      • E-Service สำหรับนิสิต
    • ระบบจองห้องประชุม
    • ระบบจองห้อง Co-Learning
    • คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
      • สำหรับนิสิต
      • สำหรับบุคลากร
      • คู่มือปฏิบัติงานบุคลากร
    • ห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง
    • ตารางการใช้งานรถตู้
    • สถิติการให้บริการ
    • แบบฟอร์มเอกสาร
  • ติดต่อเรา
    • ติดต่อเรา
    • สายตรงคณบดี
    • ร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบ
      • สถิติการร้องเรียนทุจริต
    • แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
English สมัครเรียน
รายละเอียด
หมวด: Research_News
wittaya By wittaya
wittaya
17.มิ.ย.
ฮิต: 276

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ อ่อตะวงศ์ สร้างแรงบันดาลใจในงาน Special Seminar "แชร์ประสบการณ์การทำงานกับนักวิจัยหลากหลายสัญชาติในอเมริกา"

No comments on “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ อ่อตะวงศ์ สร้างแรงบันดาลใจในงาน Special Seminar "แชร์ประสบการณ์การทำงานกับนักวิจัยหลากหลายสัญชาติในอเมริกา"”


          วันที่ 17 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดกิจกรรม Special Seminar หัวข้อ "แชร์ประสบการณ์การทำงานกับนักวิจัยหลากหลายสัญชาติในอเมริกา" โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ อ่อตะวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสรีรวิทยา มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ

          ในงานสัมมนาครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์อันทรงคุณค่าจากการทำงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ร่วมงานกับนักวิจัยจากหลากหลายประเทศ ซึ่งเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำงานในบริบทที่เป็นสากล วิทยากรได้ฉายภาพให้เห็นถึง ความทันสมัยของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในอเมริกา ซึ่งเพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ก้าวหน้า มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและแม่นยำ นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำถึงวัฒนธรรมการทำงานที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างนักวิจัยต่างชาติ

          ตลอดการบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ได้สอดแทรกข้อคิดและแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยรุ่นใหม่ที่กำลังมองหาโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในระดับนานาชาติ การบรรยายนี้ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการทำงานวิจัยในต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนการจุดประกายความฝันและแรงผลักดันให้นักวิจัยไทยกล้าที่จะก้าวออกไปสัมผัสประสบการณ์ในเวทีระดับโลก

          กิจกรรม Special Seminar ในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ นักวิจัย เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาองค์ความรู้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการและเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาวงการวิจัยของไทยในอนาคต


 ข่าว : วิทยา   สุนสะดี
ภาพ : วิทยา   สุนสะดี


 

IMG 3695.jpg
IMG 3697.jpg
IMG 3699.jpg
IMG 3704.jpg
IMG 3705.jpg
IMG 3711.jpg
IMG 3717.jpg
IMG 3719.jpg
IMG 3725.jpg
IMG 3726.jpg

รายละเอียด
หมวด: Research_News
wittaya By wittaya
wittaya
24.ม.ค.
ฮิต: 899

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมงานพะเยาวิจัยครั้งที่ 14 FRONTIER AREA BASED RESEARCH FOR SUSTAINABILITY DEVELOPMENT GOALS

No comments on “คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมงานพะเยาวิจัยครั้งที่ 14 FRONTIER AREA BASED RESEARCH FOR SUSTAINABILITY DEVELOPMENT GOALS”


          วันที่ 23 มกราคม 2568 ผศ. ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มอบหมายให้ผศ. ดร.ศุภชัย เจริญสิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนเข้าร่วมงานพะเยาวิจัยครั้งที่ 14 FRONTIER AREA BASED RESEARCH FOR SUSTAINABILITY DEVELOPMENT GOALS และรับมอบรางวัลระดับ “เหรียญทอง” จากการประกวดนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ผลงานเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสจากพืชพื้นบ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสำหรับผู้สูงอายุ” โดยมี ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ลงพื้นที่หมู่ที่ 17 บ้านแม่กาโทกหวาก อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา โดย key performance index ที่สำคัญ คือ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งโครงการสอดคล้องกับ SDG 3 เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย SDG 2 เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

          พร้อมกันนี้ ผศ. ดร.ศุภชัย เจริญสิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้แทน นักวิจัยของคณะฯ 2 ท่าน เข้ารับมอบประกาศนียบัตรรางวัลนักวิจัยดีเด่นประกอบด้วย

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนีพร กงซุย นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดอันดับที่ 1 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  2. ดร. ธิชานนท์ พรหมศรีสุข นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดอันดับที่ 3 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

1737692682482 0.jpg
1737692873855 0 0.jpg
1737692908180 0 0.jpg
1737693731984 0.jpg
1737693802252 0.jpg
1737694394597 0.jpg
IMG 6822 0.jpg
IMG 6956 0.jpg
S  80633867 0.jpg
UPCC 680123A 508 1 0.jpg
UPCC 680123A 512 1 0.jpg
MessageImage 1737692578229.jpg

รายละเอียด
หมวด: Research_News
wittaya By wittaya
wittaya
16.ม.ค.
ฮิต: 1124

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น และรางวัลผลการดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม

No comments on “คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น และรางวัลผลการดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม”

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น และรางวัลผลการดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม


          วันที่ 25 มกราคม 2567 ผศ. ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย ผศ. ดร.ศุภชัย เจริญสิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมงานพะเยาวิจัยครั้งที่ 13 FRONTIER AREA BASED RESEARCH FOR SUSTAINABILITY DEVELOPMENT GOALS และรับมอบรางวัลระดับ “เหรียญเงิน” จากการประกวดนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ผลงานเรื่อง น้ำมันตะไคร้นาโน โดยมี ผศ.ดร.คมศักดิ์ พินธะ เป็นหัวหน้าโครงการ ลงพื้นที่ตำบลสันโค้ง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา โดย key performance index ที่สำคัญ คือ การเพิ่มมูลค่าของตะไคร้ สร้างงาน สร้างรายได้และยกระดับสุขภาวะชุมชน 

พร้อมกันนี้ นักวิจัยของคณะฯ 4 ราย ได้เข้ารับมอบประกาศนียบัตรรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย

  1. รศ. ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดอันดับที่ 4 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  2. ดร.อชิรญา ศิริภาพ นักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์สูงสุดอันดับที่ 5 สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  3. ผศ. ดร.คมศักดิ์ พินธะ รางวัลระดับ “เหรียญเงิน” โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม
  4. ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ ระดับดีเด่นประเภทผลงานการวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์
  5. ดร.ธนพัฒน์ แพ่งเกษร ระดับดีมากประเภทผลงานการวิจัยที่สร้างประโยชน์เชิงพาณิชย

 

รายละเอียด
หมวด: Research_News
wittaya By wittaya
wittaya
29.ก.ย.
ฮิต: 1252

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สัมมนาวิชาการแลกเปลี่ยนด้านการวิจัย ในระดับนานาชาติ (Bilateral Research Seminar)

No comments on “คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สัมมนาวิชาการแลกเปลี่ยนด้านการวิจัย ในระดับนานาชาติ (Bilateral Research Seminar)”

          วันที่ 29 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริศักดิ์ ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมสัมมนาวิชาการด้านการวิจัย กับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซากะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนักวิจัยจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ร่วมสัมมนาในครั้งนี้

          ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสรีรวิทยา นำเสนองานวิจัย เรื่องกาแฟต่อผลดีต่อสุขภาพ (Coffee Talk) และนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ร่วมนำเสนอทั้งหมด 5 ท่านดังนี้

Respiratory Medicine:

  • Dr. Hiroki Tashiro (Title: Severity mechanisms of asthma with obesity)

Cardiology:

  • Dr. Ayumu Yajima (Title: Spatiotemporal dynamics of SETD5-containing NCoR-HDAC3 complex determines enhancer activation for adipogenesis)

Thailand:

  • Dr. Acharaporn Duangjai (Title: Coffee Talk: Potential health benefits of coffee)

Medicinal Science Department:

  • Dr. Tatsuro Watanabe (Title: Development of novel orallybioavailable hypomethylating agent OR-2100 in hematological malignancies

Molecular Life Science Department:

  • Dr. Kenji Idehara (Title: How does itching occur in atopicdermatitis and how can we control it?

          ซึ่งบรรยากาศการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถือเป็นการสัมมนาทวิภาคี (Bilateral Research Seminar) ครั้งแรกที่คณะฯ ได้จัดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสให้นักวิจัย ได้ริเริ่มงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยต่างชาติ ตลอดจนสานต่อเครือข่ายวิจัยผ่านการทำงานร่วมกัน และการจัดกิจกรรม Research Seminar ในครั้งนี้มีนักวิจัยให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังสัมมนา เช่น รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สุรศักดิ์ เสาแก้ว คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และมีอาจารย์จากคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้ด้วย

IMG 4117.jpg
IMG 4120.jpg
IMG 4123.jpg
IMG 4124.jpg
IMG 4126.jpg
IMG 4129.jpg

รายละเอียด
หมวด: Research_News
wittaya By wittaya
wittaya
25.ก.ย.
ฮิต: 1073

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซากะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมหารือทางด้านวิจัยและนวัตกรรม

No comments on “คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซากะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมหารือทางด้านวิจัยและนวัตกรรม”

 

          วันที่ 25 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริศักดิ์   ประสานพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อิซาบุโระ ซึเอโอกะ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซากะ ประเทศญี่ปุ่น (Prof. Sueoka Eizaburo, M.D., Dean, Faculty of Medicine, Saga University, Japan) และได้เข้าพบ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา และคณะผู้บริหารงานด้านวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อหารือความร่วมมือทางด้านวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้าง International research network และพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยแก่บุคลากร

          จากนั้นได้ร่วมหารือกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์  ดวงใจ ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้บริหารหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และการดำเนินงานทางด้านวิจัย ในระดับ Clinic และ Pre-Clinic ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือด้านวิจัย และวิชาการ เช่น การแลกเปลี่ยนนักวิจัย เพื่อการก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

          ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีแผนที่จะต่อยอดกิจกรรม ในรูปแบบการประชุมวิชาการนานาชาติ โดยคาดว่าจะมีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นที่รู้จักและจดจำในระดับนานาชาติต่อไป

Saga 01
Saga 02
Saga 03
Saga 04
Saga 05
Saga 06
Saga 07
Saga 08
Saga 10
Saga 11
Saga 12
Saga 13
Saga 14
Saga 15
Saga 16

ลิขสิทธิ์ © 2568 School of Medical Sciences. สงวนลิขสิทธิ์.
Joomla! เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่เผยแพร่ภายใต้ GNU ใบอนุญาตสาธารณะทั่วไป
Thailand 54.7% Thailand
United States of America 32.7% United States of America
India 4.4% India
China 2.5% China

Total:

49

Countries
014744
Today: 13
This Week: 13
This Month: 1,710
This Year: 14,746